คลิ๊กที่นี่!! เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ ปลาทูทอดออนไลน์ ดอทคอม
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ

พบกับลี่อีกแล้วนะคะ กับ “จอปอน้อยดอทคอม” แห่งนี้ หายไปนานเลย... กลับมาคราวนี้ ลี่นำเรื่องราวดี ๆ มาฝากเพื่อน ๆ เต็มไปหมดเลย ฮั่นแน่ ...อยากรู้กันแล้วล่ะสิ ? อิอิ

ในฉบับนี้ลี่นำเรื่องของ “ความสำคัญของ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ” มาฝากเพื่อน ๆค่ะ ก็เนื่องมาจากว่า ในสมัยที่ลี่เป็นมนุษย์เงินเดือน ในตำแหน่งผู้ช่วยจอปอวิชาชีพนั้น ลี่เกิดคำถามขึ้นว่าในใจว่า “ทำไม ? พนักงานถึงไม่ชอบใส่ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อาทิเช่น ถุงมือนิรภัย ผ้าปิดจมูก หมวกนิรภัย และรองเท้านิรภัย เป็นต้น ” ทั้ง ๆ ที่ ทางองค์กรเองก็มีให้ใส่ และในส่วนงานที่เกี่ยวข้องก็ต่างปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีอยู่เสมอ บวกกับกฎระเบียบก็มีให้ปฏิบัติชัดเจน พูดไปพูดมามันก็กลายเป็นปัญหาที่แก้กันไม่ตกเลย... องค์กรของเพื่อน ๆ เป็นอย่างนี้บ้างหรือเปล่าคะ ? ถ้าเพื่อน ๆ ตอบว่า ใช่ !!! แล้วเพื่อน ๆ มีมาตรการแก้ไขอย่างไรบ้างคะ แชร์แบ่งปันกันบ้างนะคะ อยากรู้จริง ๆ ค่ะ

เอาละค่ะ เข้าเรื่องของเรากันเลยดีกว่า ก่อนอื่นลี่ก็ต้องขออธิภายถึงความหมายของ “ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ” กันก่อนนะคะ

“ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment = PPE)” หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สวมใส่ในขณะปฏิบัติงาน เพื่อช่วยในการป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง

ส่วนการเลือกและใช้ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เพื่อน ๆ ต้องพิจารณา ดังนี้นะคะ

1. เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะอันตรายที่พบในการปฏิบัติงาน
2. อุปกรณ์ที่เลือกใช้ ควรได้รับการตรวจสอบและมีมาตรฐานรับรองเป็นที่ยอมรับ
3. มีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายและทนทานสูง
4. มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย มีขนาดเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน
5. มีให้เลือกหลากหลายแบบและหลากหลายขนาด
6. มีการบำรุงรักษาง่าย อะไหล่หาซื้อง่ายและไม่แพงเกินไป
7. ฝึกอบรมในเรื่อง ประโยชน์ของ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล วิธีการเลือกใช้ การสวมใส่ที่ถูกต้อง และการบำรุงรักษา แก่ผู้ใช้งาน
8. มีแผนในการชักจูงการใช้ การปรับตัวในการใช้ระยะแรก และส่งเสริมการใช้ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
9. จัดกิจกรรมให้รางวัลสำหรับผู้ใช้ที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบและใช้ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
10. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล มีปริมาณพอเพียงกับจำนวนผู้ใช้งาน
11. กรณีที่ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ชำรุด ต้องเปลี่ยน หรือซ่อมแซมได้

เป็นอย่างไรบ้างคะเพื่อน ๆ กับ “วิธีการเลือกและการใช้ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล อย่างมีประสิทธิภาพ” ลี่หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยเนอะ...

พบกันฉบับหน้านะคะ กับ “ชนิดของ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล” ห้ามพลาดนะคะเพื่อน ๆ บาย...
คลิ๊กที่นี่!! เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ ปลาทูทอดออนไลน์ ดอทคอม
ในการตรวจความปลอดภัยนั้น โดยรวมแล้วต้องครอบคลุมสิ่งต่าง ๆ ดังนี้นะคะ
1.การตรวจเครื่องจักร
1.1 การสัมผัสของผู้ทํางานเข้าสัมผัสส่วนหมุนเครื่องจักรหรือไม่
1.2 การชนกระแทก มีโอกาสชน เหวี่ยงโดนคนงานหรือไม่
1.3 การติดอยู่ในจุดอันตราย มีส่วนใดของร่างกายเข้าติดกับจุดอันตรายของเครื่องจักรหรือไม่ เช่น จุดตัด หนีบ บด
1.4 การหลุดกระเด็น ของเศษวัสดุหรือเครื่องจักร เช่น สายพาน เศษเจียระไน-กลึง-ไสโลหะ
2.การตรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าและไฟฟ้า
2.1 ตรวจขนาดสายไฟที่ใช้กับกระแสไฟที่ใช้เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
2.2 ตรวจการเดินสายไฟ เทียบกับมาตรฐาน
2.3 ตรวจความเหมาะสมของชนิดสายไฟกับลักษณะการใช้งาน และสภาพสายไฟชํารุดหรือไม่
2.4 ตรวจว่ากีดขวางเครื่องจักรและการจราจรหรือไม่วางบนพื้นเปียกหรือไม่มีอุปกรณ์ป้องกันการเหยียบทับไหม?
2.5 ขนาดและความเหมาะสมของฟิวส์ การต่อสายดินของแผงหรือตู้ควบคุม? การแตกของปลั๊ก/อุปกรณ์ใกล้สารเคมีหรือสารไวไฟ? สภาพภายนอกอุปกรณ์ไฟฟ้า? มีมาตรฐานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า? อุปกรณ์มีและต่อสายดิน?
3.การตรวจสารเคมี ถ้าต้องการทราบผลที่แน่ชัด ต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดเท่านั้น
3.1 ตา / ผิวหนังระคายเคืองเมื่อผู้ตรวจเข้าไปในบริเวณนั้นๆ
3.2 มีกลิ่นฉุนเมื่อเข้าไป
3.3 เห็นเสื้อผ้าลูกจ้างเลอะฝุ่น / สารเคมี
3.4 เห็นการเคลื่อนย้ายสารเคมีไม่ปลอดภัย หรือพบการหก หล่น เรี่ยราด
3.5 พบฝุ่น / ควันฟุ้งกระจายในบริเวณที่ทํางาน มีการระบายอากาศไม่เหมาะ ไม่มีการซ่อมบํารุง
3.6 พบว่าไม่มีการควบคุมการฟุ้งกระจายสารเคมี ไม่มีการปิดฝาให้มิดชิด
3.7 ลูกจ้างไม่ใช่หรือไม่มี PPE
3.8 มีการร้องเรียนหรือพบว่าลูกจ้างมีอาการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่ทําอยู่
4.การตรวจสภาพแวดล้อมในการทํางาน ถ้าตรวจทางด้านกายภาพ แสง เสียง ความร้อนแรงสั่นสะเทือน ต้องใช้เครื่องมือตรวจวัด
4.1 ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่มี PPE หรือมีแต่ไม่เหมาะสม
4.2 พบลูกจ้างมีอาการผิดปกติกับร่างกายเนื่องจากสภาพแวดล้อม
4.3 ผู้ตรวจซึ่งไม่ชินกับบริเวณที่ลูกจ้างทํางานเมื่อเข้าไปแล้วทนกับสภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้ เช่น เสียงดัง ร้อน
4.4 พบการทํางานของลูกจ้างข้อ 4.3 เนื่องจากลูกจ้างมีการทํางานสัมผัสกับสภาพแวดล้อมการทํางานนั้นเป็นเวลานาน
4.5 พบต้นกําเนิดของสาเหตุเกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยเกิดจากเครื่องมือเครื่องจักรไม่มาตรฐาน ขาดการดูแล
5.การตรวจการกระทําที่ไม่ปลอดภัย
5.1 แต่งกายไม่เหมาะสม
5.2 มีพฤติกรรมหรือการทํางานที่ไม่ปลอดภัย เช่น ใจลอย โมโหร้าย
5.3 ขาดการซักซ้อมอบรมให้เข้าใจสภาพที่ไม่ปลอดภัยและวิธีที่ไม่ปลอดภัย
5.4 ขาดความรู้กฏระเบียบของความปลอดภัย
5.5 ใช้วิธีการทํางานที่ผิดไปจากที่กําหนด
5.6 ใช้ท่าทางการทํางานที่อาจเกิดความปวดเมื่อย อ่อนล้า หรือเป็นอันตราย
5.7 พบลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่มี PPE ในขณะทํางาน
นอกจากนี้ยังมีลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัย เช่น ผู้สูงอายุ วัยรุ่น คนมีโรคประจําตัว คนที่ทํางานใหม่ไม่ชินกับงาน มีทัศนคติไม่ดี สภาพร่างกายไม่พร้อม เป็นต้นค่ะ

การตรวจความปลอดภัยดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการตรวจโดยรวมนะคะ ส่วนการตรวจความปลอดภัยที่มีความเฉพาะนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละองค์กรมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ต้องพิจารณาค่ะ
คลิ๊กที่นี่!! เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ ปลาทูทอดออนไลน์ ดอทคอม

ในการวางผังโรงงานเพื่อความปลอดภัยนั้น จะต้องมีการชี้บ่งอันตราย(Hazard Identification) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการนั้น ๆด้วยนะคะ ซึ่งการวางผังโรงงานเพื่อความปลอดภัยดังกล่าวเป็นการควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยป้องกันและลดผลกระทบต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
1.การออกแบบผังโรงงานตามข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมายตั้งแต่เริ่มแรก เป็นการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2.เป็นการกำจัด(Elimination)สาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น การออกแบบกระบวนการผลิต เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เป็นต้น
3.การแยกหรือจำกัดบริเวณอันตราย(Isolation)เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจจะก่อความเสียหาย
4.ลดจำนวนผู้สัมผัสอันตราย(No. of Exposures)
5.ช่วยเตรียมมาตรการในการบำรุงรักษาซึ่งเสี่ยงต่ออันตราย
6.ช่วยป้องกันปัญหามลพิษที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
การวางผังโรงงานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติในระยะยาวและยังใช้งบประมาณน้อยในการแก้ไขปรับปรุงในภายหลังอีกด้วยนะคะ

คลิ๊กที่นี่!! เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ ปลาทูทอดออนไลน์ ดอทคอม
ในการทำงานอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลาหากไม่มีการจัดการที่ดี ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตทั่วไปสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ค่ะ
1. สาเหตุพื้นฐานหรือที่เอื้ออํานวยให้เกิดอุบัติเหตุ
1.1 การบริหารจัดการ การควบคุมงานด้านความปลอดภัยขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีการสอนอบรม ไม่ได้วางแผนความปลอดภัย ไม่ได้แก้ไขจุดอันตราย ขาดการติดตามแผนการทํางานความปลอดภัยไม่จัดอุปกรณ์ความปลอดภัย ไม่บังคับให้ทําตามกฏระเบียบ
1.2 สภาวะจิตใจของบุคคลไม่ปกติ ไม่เหมาะสม เนื่องจากขาดความรู้จิตสํานึกความปลอดภัย มีทัศนคติไม่ดี ภาวะจิตใจตอบสนองช้า ขาดสมาธิความตั้งใจทํางาน ตื่นเต้น ตกใจกลัว
1.3 สภาวะร่างกายของบุคคลไม่ปกติ เนื่องจาก อ่อนล้า ร่างกายพิการ โรคหัวใจ ตาไม่ดี หูหนวก สภาพร่างกายไม่เหมาะกับงาน ความดัน เป็นต้น
2. สาเหตุหลักที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุ
2.1 การกระทําที่ไม่ปลอดภัยของบุคคล Unsafe act (ร้อยละ 88 ของการเกิดอุบัติเหตุ) ไม่ปฏิบัติตามกฏ ถอดเซพการ์ดออก ซ่อมแซมโดยไม่หยุดเครื่อง ทํางานโดยไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบโดยตรง เล่นหยอกล้อแต่งกายไม่รัดกุม ใช้เครื่องมือชํารุดหรือไม่ถูกประเภท
2.2 สภาพการทํางานที่ไม่ปลอดภัย Unsafe condition (ร้อยละ 10 ของการเกิดอุบัติเหตุ)โครงสร้างไม่แข็งแรง อุปกรณ์ชํารุดไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน พื้นที่โรงงานขาดระเบียบ ไม่มีการระบายอากาศ ไม่มีระบบเตือนภัย การจัดสารเคมีวัตถุไวไฟไม่เหมาะสม สถานที่ทํางานไม่ปลอดภัย เช่น มืด เสียงดัง
คลิ๊กที่นี่!! เพื่อเยี่ยมชมเว็บไซต์ ปลาทูทอดออนไลน์ ดอทคอม
ปัจจัยด้านความปลอกภัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณาตามกฎหมายกำหนด มีดังนี้นะคะ
1.การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรและตัวโรงงาน
2.ทางเดิน ทางออกฉุกเฉินและทางหนีไฟ
3.ระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง
4.ระบบระบายอากาศ น้ำทิ้ง สิ่งปฏิกูลและการขจัดกลิ่น ควันหรือไอพิษ
5.เสียงรบกวน
6.ความร้อน
7.แสงสว่าง
8.การจัดสถานที่ทำงาน
9.สภาพแวดล้อมทางสุขอนามัย
10.สารเคมีอันตราย
ทั้งนี้ก็ขึ้นกับการประกอบกิจการของแต่ละองค์กรนะคะว่าจะเข้าข่ายตามข้อไหนบ้างและจะมีการป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างไร